หลายๆงานวิจัยบ่งชี้ว่าช่วงอายุที่เหมาะแก่การตั้งครรภ์คือช่วงอายุ 20 ปี แต่บางงานวิจัยกับบอกว่าอายุ 30 – 39 ปี แต่ที่เคยได้ยินกันมาว่าหลังจากอายุ 30 ปี จะทำให้มีลูกยาก เอ๊ แล้วแบบนี้จะเชื่ออันไหนดี งง กันไปเลยใช่ไหมล่ะคะ วันนี้เวลบีได้ไปทำการศึกษามาแล้ว เลยอยากมาสรุปให้ฟัง ให้คุณแม่ทุกท่านเข้าใจได้ง่ายๆ สไตล์เวลบีค่า
ตั้งครรภ์ตอนอายุ 20 ปีคือช่วงที่เหมาะสมที่สุด?
- ผู้หญิงจะมีความอุดมสมบูรณ์ระดับสูงสุดในช่วงอายุ 20 ปี เพราะวัยนี้เป็นช่วงวัยเจริญพันธุ์ที่สภาพร่างกายพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์มากที่สุด จากข้อมูลของ Baby Center
- โอกาสเสี่ยงคลอดลูกก่อนกำหนดน้อยกว่า โดย ผู้หญิงอายุ 30 – 40 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากผู้หญิงวัย 20 ปี ถึงร้อยละ 10 วัย 30 ต้นๆ เพิ่มเป็นร้อยละ 12 และในช่วงอายุ 30 ปลายๆ ก็จะเป็นเพิ่มเป็นร้อยละ 18
- เนื่องจากไข่กับรังไข่ยังมีสุขภาพแข็งแรงมากที่สุด ผู้หญิงในวัย 20 มีจึงมีโอกาสที่จะมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมเพียง 1 ใน 1,667 เทียบกับโอกาส 1 ใน 950 สำหรับผู้หญิงอายุ 30 ปี
แต่ในปัจจุบันการมีลูกในช่วงอายุ 20 ปียังถือว่าเร็วไปสำหรับผู้หญิงบางคน เนื่องจากยังอยู่ในวัยเรียน อาจสูญเสียช่วงเวลาในการใช้ชีวิต เรียน ทำงาน หาเงิน รวมถึงวุฒิภาวะที่จะสามารถเลี้ยงลูกคนนึงได้ เพราะการเลี้ยงลูกนั้นต้องใช้เวลา แรงกาย แรงใจอย่างมาก ส่วนใหญ่สำหรับคนที่มีความพร้อมจึงเริ่มมีลูกกันตอน 20 ปลายเพราะด้วยภาวะร่างกายที่ยังแข็งแรงอยู่ ถ้าไปมีตอนอายุเยอะการเลี้ยงลูกก็อาจจะกลายเป็นเรื่องยาก
ไม่ควรตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปีจริงหรอ?
เพราะผู้หญิงเมื่ออายุ 35 ขึ้นไปร่างกายก็เริ่มเสื่อมถอยลงทำให้เมื่อตั้งครรภ์จึงมีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงเด็กที่คลอดออกมา ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง
- โครโมโซมผิดปกติ ส่งผลให้เด็กพิการทั้งร่างกายและสมอง ที่พบมากคือกลุ่มทารกเด็กดาวน์ซินโดรม
- ร่างกายเด็กผิดปกติ เช่น ไม่มีนิ้ว นิ้วไม่ครบ ศีรษะใหญ่จากความผิดปกติของน้ำหล่อเลี้ยงสมอง หัวใจรั่ว ไปจนถึงลำไส้อุดตัน
- แท้งลูก แม่อายุน้อยกว่า 30 ปี มีโอกาสแท้ง 10% ส่วนคุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไปมีโอกาสแท้งสูงกว่าที่ 15-30%
- เกิดโรคในขณะตั้งครรภ์สูงกว่าอายุ 20 ถึง 2 เท่า โรคที่ว่า ได้แก่ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเกิดสูงกว่า 2-3 เท่า โรคเบาหวาน เกิดสูงกว่า 4-10 เท่า ขณะที่โรคเรื้อรังอื่นๆ สูงกว่าทุกอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง โรคตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น
- เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ได้แก่ ติดเชื้อ ตั้งครรภ์แฝด รกเกาะต่ำ ตกเลือดก่อนคลอด ตกเลือดหลังคลอด น้ำคร่ำแตกก่อนครบกำหนดคลอด เป็นต้น
- เกิดผลเสียต่อลูก เช่น คลอดก่อนกำหนด มีความพิการ น้ำหนักน้อย คลอดยาก คลอดติดไหล่ ลูกขาดออกซิเจนในขณะคลอด
- เกิดปัญหาในการคลอด มีโอกาสต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศ คีมช่วยคลอด ผ่าตัดคลอด ในขณะที่คุณแม่อายุมากกว่า 40 ปีมีโอกาสผ่าตัดคลอด 50% ขณะที่ทั่วไปมีโอกาส 25-30%
- ลูกเสียชีวิตในครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งคุณแม่อายุ 40 ปีขึ้นไปมีโอกาสสูงมากกว่า 2-3 เท่า
- ฝากครรภ์ช้า หากฝากครรภ์ไม่ครบหรือไม่ได้ฝากครรภ์เพราะอายุมาก และประจำเดือนมักไม่มาเป็นปกติ ไม่ทราบว่าตนท้อง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทั้งแม่และลูกมากขึ้น
ในปัจจุบันพบว่าคนแต่งงานกันช้าลง กว่าจะมีลูกคนแรก คุณแม่ก็มักมีอายุมากกว่า 35 ปี แต่เวลบีคิดว่าถ้าหากสุขภาพกายสุขภาพใจแข็งแรง ดูแลตัวเอง ทานอาหารดีๆอย่าง Wel-B Snack ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ บวกกับฝากครรภ์ก่อน 3 เดือน ทั้งคุณพ่อคุณแม่มีความรู้ในการดูแลการตั้งครรภ์ สามารถปฎิบัติตามคำแนะนำ ตลอดจนได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากแพทย์ การตั้งครรภ์ในวัยนี้ก็อาจลดความเสี่ยงจากที่กล่าวมาข้างต้นได้ค่ะ